การกำกับดูแลสเต็มเซลล์ในประเทศไทย
โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกถามอยู่บ่อยครั้งในที่ประชุมของคลินิกที่เราให้บริการ ว่า จะทำการตลาดยังไง? ด้วยข้อกำหนด และนโยบายที่ไม่ชัดเจน รวมถึง การนำเสนอ ต้องอาศัยแพทย์ผู้มีประสบการณ์สูง รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องต่อคนไข้ ผู้บริโภค
การทำการตลาดออนไลน์แบบบริการอื่นเป็นไปได้ยาก จึงถูกพักไว้เสมอ เหลือไว้แต่เพียงกลุ่มลูกค้าประจำของคลินิก ที่เปิดโอกาสให้คลินิกสามารถนำเสนอโปรแกรมทางเลือกนี้กับกลุ่มลูกค้า ในฐานะเอเจนซี่ จึงสามารถซัพพอร์ตด้านการผลิตสื่อที่ใช้ในหน้าร้าน หรือปิดการขายแบบ Offline เป็นส่วนใหญ่
แต่วันนี้ ถือเป็นการอัพเดทข้อมูลล่าสุด จากการประชุมของหน่วยงานราชการ เกี่ยวกับ สเต็มเซลล์ สรุปได้ดังนี้
จุดยืนของหน่วยงานกำกับดูแล
- สบส. (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)
- เน้นความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญสูงสุด
- การให้บริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานและต้องมีการตรวจสอบ
- การใช้สเต็มเซลล์ด้านความงามยังอยู่ในขั้นพัฒนา ต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพแพทยสภา
- อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
- ผลิตภัณฑ์ ATMPs ถือเป็นยาสำเร็จรูปที่ต้องขึ้นทะเบียนและผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพ
- มีกฎหมายกำกับชัดเจนแล้ว (พรบ.ยา พ.ศ.2562)
- ย้ำว่าผู้ประกอบการต้องไม่ “ขายฝัน” หรือโฆษณาเกินจริง
- ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)
- แพทยสภา
- สนับสนุนงานวิจัยที่มีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ
- ยืนยันว่ายังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าสเต็มเซลล์รักษามะเร็งหรือโรคอื่นๆ ที่มีการกล่าวอ้าง
- มีการค้นคว้าติดตามความก้าวหน้าทุกเดือน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสเต็มเซลล์
- แม้สเต็มเซลล์มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ แต่กระบวนการทำให้เกิดขึ้นจริงมีความซับซ้อนสูง
- หลายกรณีที่มีการนำไปใช้ในอดีต (เช่น โรคหัวใจในปี 2011) ผลการศึกษาระยะยาวพบว่าไม่ได้ผล
- ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ว่าสเต็มเซลล์สามารถรักษาโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงได้
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
- รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนา ATMPs เพื่อผลักดันไทยเป็น Medical Hub
- จะมีการจัดตั้งสมาคมภายใน 6 เดือน ประกอบด้วยนักวิจัย แพทยสภา สบส. อย. และผู้ประกอบการ
- เน้นการพัฒนาที่ “ยั่งยืน” โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและประโยชน์ของประชาชน
- จะให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ และนักลงทุน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
- จะมีบทลงโทษสำหรับการใช้ผิดประเภทหรือการโฆษณาเกินจริง
อ้างอิง https://www.facebook.com/lawsocialmedia