ดาวน์โหลดแบบคำขอสถานพยาบาล
แนวทางการเปิดคลินิก (สถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน)
ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ (One Stop Service Center) สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการธุรกรรมเกี่ยวกับใบอนุญาตตามกฎหมาย ได้แก่:
- พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
- พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551
ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่รับคำขอ ตรวจสอบเอกสาร ชำระเงิน และรับใบอนุญาต ในเวลาราชการ:
08.30 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.30 น.
ประเภทคลินิกที่สามารถยื่นขอเปิดให้บริการ
ผู้ขออนุญาตต้องเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง กับลักษณะของคลินิก เช่น
- คลินิกเวชกรรม
- ดำเนินการโดย แพทย์ทั่วไป
- คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง
- ดำเนินการโดยแพทย์ที่มีวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา
- คลินิกทันตกรรม
- ดำเนินการโดย ทันตแพทย์ทั่วไป
- คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง
- ดำเนินการโดยทันตแพทย์ที่มีวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากทันตแพทยสภา
- คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์
- ดำเนินการโดย พยาบาลชั้นหนึ่ง (ยกเว้น การทำคลอด)
- คลินิกกายภาพบำบัด
- ดำเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขา กายภาพบำบัด
- คลินิกเทคนิคการแพทย์
- ดำเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขา เทคนิคการแพทย์
- คลินิกการแพทย์แผนไทย
- ดำเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขา เวชกรรมไทย
- คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- ดำเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขา การแพทย์แผนไทยประยุกต์
- สหคลินิก
- จัดให้มีบริการตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป ตามข้อ 1-9
- ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งในสถานพยาบาลนั้น
การยื่นขอเปิดคลินิก
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการยื่นขอเปิดคลินิก
- เขตกรุงเทพมหานคร
ยื่นคำขอที่ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข - เขตส่วนภูมิภาค
ยื่นคำขอที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
ใครเป็นผู้ยื่นขอเปิดคลินิกได้
- ผู้ที่ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
- เอกสารที่ต้องเตรียม
- เอกสารบุคคลทั่วไป
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองแพทย์
- เอกสารนิติบุคคล
- เอกสารจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมวัตถุประสงค์
- บัตรประชาชนของผู้ที่มีอำนาจลงนาม
- ทะเบียนบ้านของผู้ที่มีอำนาจลงนาม
- ใบรับรองแพทย์ของผู้ที่มีอำนาจลงนาม
- หมายเหตุ: ให้ระบุเลขทะเบียนบริษัทในคำขอ หากยื่นในนามนิติบุคคล
- เอกสารบุคคลทั่วไป
- เอกสารที่ต้องเตรียม
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
- กรณีเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
- สำเนาสัญญาซื้อขาย สำเนาโฉนด
- กรณีเช่า
- สำเนาสัญญาเช่า สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า
- กรณีอนุญาตให้ใช้พื้นที่
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคาร สำเนาบัตรประชาชนและเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก
- กรณีเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
- แผนผังคลินิก
- แผนที่การเดินทางไปคลินิก
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล
- เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้
- 2.1 สำเนาบัตรประชาชน
- 2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
- 2.3 ใบรับรองแพทย์
- 2.4 สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
- 2.5 สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือรับรอง (กรณีคลินิกเฉพาะทาง)
- 2.6 รูปถ่ายขนาด 2.5 x 3 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี)
- 2.7 รูปถ่ายขนาด 8 x 13 เซนติเมตร จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี)
- แบบฟอร์มที่ต้องกรอก
- ส.พ. 6
- ส.พ. 18
ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม
หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านใดด้านหนึ่งที่ให้บริการในสถานพยาบาลนั้น ตามลักษณะการบริการของคลินิก
- เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้
- 3.1 สำเนาบัตรประชาชน
- 3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
- 3.3 สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
- 3.4 สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือรับรอง (กรณีคลินิกเฉพาะทาง)
- 3.5 รูปถ่ายขนาด 8 x 13 เซนติเมตร จำนวน 1 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี)
- แบบฟอร์มที่ต้องกรอก:
- ส.พ. 6 (ไม่ต้องมาแสดงตัว)
หมายเหตุสำหรับการเปิดคลินิก
- กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการและดำเนินการเป็นบุคคลเดียวกัน
- เอกสารในข้อ 2.1 – 2.3 ต้องใช้เพียงชุดเดียว
- การยื่นขอเปิดคลินิก
- ผู้ขอใบอนุญาตสามารถเขียนใบมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
- อย่างไรก็ตาม ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมาแสดงตัวด้วย
- กรณีคลินิกทันตกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร
- หากมีเครื่องเอ็กซเรย์ ให้ติดต่อกองรังสีและเครื่องมือแพทย์ โทร. 0 2951 0000 ต่อ 99647
ขั้นตอนการยื่นเปิดคลินิก
- เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสาร
- ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของแบบฟอร์มทั้งหมด
- ตรวจสอบข้อมูลผู้ขอใบอนุญาต
- รวมถึงข้อมูลการดำเนินการและการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพร่วม
- นัดวันตรวจคลินิก
- ในวันที่นัดตรวจ คลินิกต้องพร้อมสำหรับการตรวจสอบ หากไม่สะดวกตามวันนัด ท่านต้องยื่นหนังสือขอถอนเรื่อง พร้อมรับเอกสารคืน และยื่นเรื่องเปิดใหม่อีกครั้ง
หมายเหตุ
- ผู้ขอใบอนุญาตและผู้ดำเนินการต้องอยู่ประจำคลินิกในวันตรวจ
- หากติดภารกิจ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นอยู่แทนได้
สิ่งที่ท่านจะได้รับกลับในวันยื่นเปิดคลินิก
- ใบนัดตรวจ
- แบบฟอร์มแสดงรูปถ่ายและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในคลินิก
- ใบสมัครบริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
- คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย
- ป้ายสอบถามค่ารักษาพยาบาล
- บันทึกการตรวจมาตรฐานของคลินิกตามประเภท
ท่านยังไม่มีค่าใช้จ่าย จนกว่าจะมีหนังสือแจ้งให้มารับใบอนุญาตฯ
โดยท่านต้อง
- ถ่ายรูปป้ายชื่อคลินิก พร้อมเลขที่ใบอนุญาต ที่เห็นได้ชัดเจน
- เอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ตามที่เจ้าหน้าที่ปตรวจคลินิกได้แจ้งไว้
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบ (ยื่นกรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง)
- ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
- จำนวน 1,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
- จำนวน 250 บาท
การชำระค่าธรรมเนียมประจำปี
เป็นการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
- ชำระทุกปี ในเดือนตุลาคม – ธันวาคม เป็นเงิน 500 บาท
- หากเกินกำหนดต้องจ่ายค่าปรับเดือนละ 25 บาท
เอกสารที่ต้องยื่น
- แบบฟอร์มชำระค่าธรรมเนียม
- สมุดทะเบียนสถานพยาบาล (ส.พ.8)
- แบบรายงานประจำปี (ส.พ.23)
- แบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลในคลินิกโดยตนเอง
การต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
- ต่ออายุทุก 2 ปี
(ให้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต) - ค่าธรรมเนียม: 250 บาท
เอกสารที่ต้องยื่น
- แบบฟอร์มขอต่ออายุใบอนุญาต (ส.พ.20)
- ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลฉบับจริง (ส.พ.19)
- ใบรับรองแพทย์
- สมุดทะเบียนสถานพยาบาล (ส.พ.8)
การต่ออายุใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
- ต่ออายุทุก 10 ปี
(ให้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบ นับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต) - ค่าธรรมเนียม: 1,000 บาท
เอกสารที่ต้องยื่น
- แบบฟอร์มต่ออายุใบอนุญาต (ส.พ.11)
- ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลฉบับจริง (ส.พ.7)
- รายการเกี่ยวกับรายชื่อผู้ประกอบกิจการ
- หนังสือรับรองผู้ประกอบกิจการ
- สำเนาทะเบียนผู้ประกอบกิจการ
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคลินิก
- สำเนาบัตรประชาชน
หมายเหตุ
- ต้องได้รับเอกสารครบถ้วนก่อน และให้หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นจัดการแทน
ชื่อคลินิก
- การกำหนดชื่อคลินิก:
- ชื่อ หรือคำต่อท้ายของชื่อคลินิก ต้องประกอบด้วยประเภทและลักษณะของคลินิกที่ขออนุญาต เช่น
- สมชายคลินิกเวชกรรม
- คลินิกเวชกรรมสมชาย
- ชื่อ หรือคำต่อท้ายของชื่อคลินิก ต้องประกอบด้วยประเภทและลักษณะของคลินิกที่ขออนุญาต เช่น
- ข้อห้ามเกี่ยวกับชื่อคลินิก:
- ห้ามใช้คำหรือข้อความที่มีลักษณะเกินจริง โอ้อวด ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือสร้างความสำคัญเกินกว่าความจริง
- ความเหมาะสมของชื่อคลินิก:
- ไม่ควรมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
- ชื่อที่ตั้งคลินิก:
- กรณีตั้งคลินิกในอำเภอหรือเขต หรือจังหวัดเดียวกัน ห้ามใช้ชื่อซ้ำกัน
หมายเหตุ
- ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ต้องเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน
- กรณีมีหนังสือยินยอมการใช้ชื่อจากผู้ได้รับอนุญาตเดิม ชื่อสามารถซ้ำได้ แต่ต้องเติมคำว่า “สาขา” เช่น
- คลินิกเวชกรรมสมชาย สาขา 2
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์บริการธุรกิจสุขภาพ
สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
- โทร: 02 591 8844 ต่อ 717 – 719
- เว็บไซต์: http://mrd.go.th