รวม 18 คำถาม-คำตอบ กฎการโฆษณาคลินิกความงามฉบับใหม่ [ล่าสุด มีนาคม 2568]

ห้ามใช้ชื่อเล่น เพียงอย่างเดียวโปรโมทแพทย์

ห้ามใช้ชื่อเล่นและชื่อ-สกุล ต้องเป็นภาษาไทย เพื่อให้คนไข้สามารถไปค้นหาในเวปของแพทยสภาได้และต้องใส่เลข ว. โดยเฉพาะเขต กทม ใช่หรือไม่?

  • ชื่อ-สกุลแพทย์ต้องแสดงเป็นภาษาไทยเพื่อให้คนไข้สามารถไปค้นหาในเว็บไซต์ของแพทยสภาได้ และต้องใส่เลขประกอบวิชาชีพเวชกรรม

หมอที่เป็นผู้ดำเนินการ

คลินิกสามารถโพสต์รูปหมอได้เฉพาะหมอที่เป็นผู้ดำเนินการหรือหมอที่ขอ สพ.6 เท่านั้น แพทย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้ขออนุญาตไม่สามารถโพสต์ ใช่หรือไม่?

  • สถานพยาบาลทั้งคลินิกและโรงพยาบาลเอกชน ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพตาม ส.พ.19 หรือ ส.พ.6

โฆษณาวุฒิหรือใบอบรมแพทย์

การโฆษณาวุฒิหรือใบอบรมแพทย์ที่แพทยสภาไม่ได้รับรองสามารถโฆษณาได้หรือไม่?

  • การโฆษณาความรู้ความสามารถของแพทย์สามารถแสดงได้เฉพาะที่แพทยสภาให้การรับรองเท่านั้น

โพสต์ถวายนพระพร

สามารถโพสต์ถวายนพระพรได้หรือไม่ อย่างไร?

  • ห้ามมิให้โฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาลในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการถวายพระพรหรือการกระทำอื่น ๆ ที่อ้างอิงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

การทำ LIVE

สถานพยาบาลสามารถ live การทำหัตถการของแพทย์ได้หรือไม่ รวมถึงการ live เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์?

  • ห้าม Live การทำหัตถการของแพทย์ขณะทำหัตถการหรืออยู่ในห้องทำหัตถการ

ชื่อโปรแกรมต้องเด่น

การแสดงข้อความ “โปรแกรม” ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 60% ของชื่อเครื่องมือแพทย์/ยา ใช่หรือไม่?

  • ขนาดตัวอักษรของคำว่า “โปรแกรม” กับชื่อยี่ห้อเครื่องมือแพทย์ต้องแสดงให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำเดียวกัน

โฆษณาโบท็อกซ์แบบไหน

ยาตัวเดียวที่โฆษณาได้คือ โบท็อกซ์ และต้องใช้คำว่าโปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ใช่หรือไม่?

Botulinum Toxin เป็นยาควบคุมพิเศษ ห้ามโฆษณา แต่กรมสบส.พิจารณาอนุญาตให้ใช้ข้อความแจ้งบริการ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจได้ว่า เป็นโปรแกรมบริการ โดยห้ามแสดงยี่ห้อ สามารถแสดง ข้อความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ดังนี้

  • โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์
  • โบทูลินัม ท็อกซิน
  • Botulinum Toxin
  • โปรแกรม โบทูลินัม ท็อกซิน

เครื่องมือแพทย์

เครื่องมือแพทย์ให้ใส่คำว่าโปรแกรม+ชื่อเครื่องมือได้ เช่น โดยต้องไม่มีรูปเครื่องมือแพทย์หรือรูปกล่องบรรจุภัณฑ์ที่สื่อถึงยี่ห้อ ใช่หรือไม่?

การโฆษณาเครื่องมือแพทย์สามารถทำได้ ดังนี้

  1. โปรแกรม+ชื่อเครื่องมือแพทย์ เช่น โปรแกรมฟิลเลอร์ โปรแกรมเทอมาจ โดยต้องไม่มีรูปเครื่องมือแพทย์ รูปประกอบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งถึงนี้ห้ามปลิตภัณฑ์
  2. สถานพยาบาลสามารถทำการโฆษณาได้ดังนี้
    • 2.1 โปรแกรมที่สามารถโฆษณาได้
      • “โปรแกรมฉีดฟิลเลอร์”
      • “โปรแกรม Nueramis”
      • “โปรแกรม e.p.t.q”
      • “โปรแกรม Restylane”
      • “โปรแกรม Rejuran”
      • “โปรแกรม belotero”
      • “โปรแกรม Juvederm”
      • “โปรแกรม Sculptra”
    • 2.2 โปรแกรมอื่น ๆ
      • “โปรแกรม Thermage”
      • “โปรแกรม Ulthera”
      • “โปรแกรม Ultraformer”
      • “โปรแกรม Oligio”
      • “โปรแกรม Morpheus”
      • “โปรแกรม Volnewmer”
      • “โปรแกรม Thermatrix”
      • “โปรแกรม Q switch”
    • 2.3 กรณีไม่ต้องใส่คำว่า “โปรแกรม” ให้โฆษณาในลักษณะ Generic name ดังนี้
      • “ไฮฟู”
      • “Hifu”
      • “เลเซอร์”
      • “Laser”
      • “RF”
      • “Cool Sculpting” หรือเป็น Generic name ที่บ่งบอกความถี่คลื่น ทิศทาง หรือขนาดของ Probe เป็นต้น

รูปแพทย์คู่กับยา

ห้ามมีรูปแพทย์อยู่กับยาเครื่องมือแพทย์ทุกชนิด ใช่หรือไม่?

  • กรณีห้ามแพทย์โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทยสภา

โฆษณาขาย stem cell

ห้ามโฆษณาขาย stem cell, PRP, antiaging ใช่หรือไม่?

  • ห้ามโฆษณาต่อสาธารณะในกรณีที่แพทยสภาไม่ให้การรับรองหรือผลิตภัณฑ์ที่ อย. ไม่รับรอง

ฉีดหน้าตัวเอง

ห้ามเผยแพร่แพทย์ทำหัตถการฉีดหน้าตัวเองทุกกรณีใช่หรือไม่?

  • การโฆษณาสถานพยาบาลในขณะทำหัตถการต่อหน้าตนเองสามารถสร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนทั่วไป

ดารา Influencer

ดารานางแบบ นักร้อง หรือคนมีชื่อเสียงไม่สามารถโพสต์โฆษณายา เครื่องมือแพทย์หรือหัตถการทางการแพทย์ใดๆ ใช่หรือไม่?

  • ต้องขออนุญาตก่อนโพสต์โฆษณาที่เกี่ยวข้องกับยาหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

ให้คนอื่นเล่นบทหมอ

ดารา นางแบบ แต่งเป็นแพทย์ ต้องทำอย่างไร?

  • จะต้องได้รับการอนุมัติจาก สบส. และแสดงเลขที่อนุมัติในการโฆษณา

เพจไม่ได้ยิงแอด

เปิดเพจและโพสต์ แต่ไม่ยิงแอด ก็ถือเป็นการโฆษณาแล้วใช่หรือไม่?

  • การเปิดโปรไฟล์สถานพยาบาลในสื่อโซเชียลมีเดีย ถือเป็นการแสดงข้อความที่ต้องขออนุมัติ

ภาพรับรางโล่รางวัล

งานรับโล่รางวัล ไม่สามารถลงโฆษณาได้ใช่หรือไม่?

  • การนำภาพที่แพทย์รับโล่รางวัล ซึ่งอาจมีชื่อยี่ห้อหรือชื่อบริษัทผู้จำหน่ายยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปรากฏอยู่ด้วย หรือแสดงอยู่บนภาพโล่รางวัลนั้น มิได้มีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาล และอาจสื่อไปถึงชื่อผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายห้ามทำการโฆษณา หรือเป็นการประกอบธุรกิจทางการค้าในกิจการที่มีผลกำไรร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลกับบริษัทฯ หากแพทย์เข้ารับรางวัลแล้วน าภาพหรือคลิปมาบรรจุในการโฆษณาสถานพยาบาล จึงเป็นการโฆษณาที่โอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสาคัญฯ ตามมาตรา 38 วรรคสอง

แจ้งโปรฯ ส่วนลด

สามารถโฆษณาโดยแจ้งราคา ส่วนลด ได้หรือไม่?

  • การแจ้งราคาและส่วนลดเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ความชัดเจนในการเลือกบริการต้องแสดงอย่างชัดเจน

ภาพ before after

ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังทำหัตถการ ต้องมีใบยินยอมในการเผยแพร่จากคนไข้หรือไม่?

  • ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังทำหัตถการต้องมีใบยินยอมในการเผยแพร่รูปภาพจากคนไข้ รวมทั้งต้องระบุวันที่ทำและวันที่ถ่ายรูป โดยต้องระบุหัตถการที่ทำกับคนไข้ทั้งหมดอย่างละเอียด นอกจากนี้ ต้องระบุด้วยว่าผลลัพธ์ของการรักษาในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน หรือผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้บริโภคที่เข้าถึงสื่อโฆษณาทราบว่าภาพที่แสดงในหน้าโฆษณานั้นเป็นของผู้รับบริการรายนั้นเท่านั้น และมิได้เป็นการรับรองผลในการรักษาของสถานพยาบาลว่าจะต้องเป็นเช่นภาพโฆษณานั้นเสมอไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันสถานพยาบาลมิให้เกิดเหตุร้องเรียนจากผู้บริโภค นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยด้วย

เปิดสอนในคลินิก

ห้ามทำการเรียนการสอนในคลินิก ยกเว้นโรงเรียนแพทย์ใช่หรือไม่?

  • ตามนัยแห่งกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ไม่อนุญาตให้คลินิกเอกชนจัดอบรมหรือเปิดคอร์สการเรียนการสอนในสถานพยาบาล
  • การโฆษณาสถานพยาบาลที่แสดงความเป็นอาจารย์แพทย์ เช่น “อาจารย์แพทย์ผู้สอนฉีดฟิลเลอร์” หรือ “เปิดรับสมัครแพทย์เทรนนิ่งในคลินิก…โดยอาจารย์หมอ…” เป็นข้อความที่สื่อถึงได้ว่าสถานพยาบาลเปิดการเรียนการสอนหรือจัดอบรมในสถานพยาบาล ซึ่งสถานพยาบาลได้รับอนุญาตให้ทำการรักษาโรคทั่วไป หรือสถานพยาบาลเฉพาะทางที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น มิได้รับอนุญาตเป็นสถานที่ที่มีการเรียนการสอนหรือการจัดฝึกอบรม ข้อความในลักษณะดังกล่าวเป็นข้อความที่น่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาล

หมายเหตุ: ข้อความบางจุด อาจมีการปรับเพื่อให้สั้น เข้าใจง่ายมากขึ้น ดูฉบับเต็มได้ที่นี่

Home
»
Blog »
รวม 18 คำถาม-คำตอบ กฎการโฆษณาคลินิกความงามฉบับใหม่ [ล่าสุด มีนาคม 2568]