หมออยากใช้ AI ในคลินิกแต่จะให้มันทำอะไรดี

ถ้าคุณหมอยังไม่รู้ว่าจะเริ่มใช้ AI ทำอะไรดี ผมแนะนำง่ายๆ เลยครับว่า “เอามาแปลงข้อมูลคนไข้เก่าที่อยู่ในกระดาษให้เป็นดิจิทัล” มากกว่า 50% ของคลินิกในตลาดตอนนี้ยังเก็บประวัติลูกค้าแบบกระดาษ (บางที่ไม่มีที่จะเก็บจนต้องเอาไปทิ้งก็มี) จะได้เป็นฐานข้อมูลที่เอาไปต่อยอดอะไรได้อีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นช่วยจัดการงานในคลินิก หรือใช้สำหรับวางแผนการตลาดให้ถูกกลุ่มในอนาคต

กีตาร์ - ฝ่ายกลยุทธ์


คำถามนี้มีทั้งคุณหมอที่เปิดคลินิกมานาน หรือเพิ่งจะเปิดก็มี จึงต้องย้อนกลับมาดูว่าเรามีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง เก็บที่ไหน และหาเจอง่ายไหม? ถ้ายังเป็นกระดาษอยู่ หรือไฟล์กระจัดกระจายกันหลายที่ ขั้นแรกคือต้องทำให้ข้อมูลพวกนี้เป็นดิจิทัล

3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ให้เป็นดิจิทัล

  1. ถ่ายรูปเอกสารที่มีอยู่
    • ใช้แอปกล้องในมือถือที่รองรับ OCR หรือแอปช่วยสแกน เช่น CamScanner, Adobe Scan หรือ Google Drive ซึ่งมีฟีเจอร์ OCR ในตัว
    • ถ่ายรูปเอกสารทุกแผ่น (แฟ้มประวัติ สมุดจด ฯลฯ) ให้คมชัด แล้วจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่พร้อมใช้งาน
  2. ใช้ AI แปลงภาพเป็นข้อความ (OCR)
    • อัปโหลดรูปที่ถ่ายไปยังโปรแกรม OCR หรือระบบที่ใช้งาน เช่น Google Docs ที่รองรับ OCR ฟรี หรือซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลคนไข้ที่มีฟังก์ชันนี้
    • ระบบจะดึงข้อมูลหลักๆ ออกมา เช่น ชื่อคนไข้ เบอร์โทร วันที่เข้ารับบริการ และประวัติ ให้หมอนำไปใช้งานต่อได้
  3. จัดเรียงข้อมูลในระบบ POS คลินิก
    • อัปโหลดข้อมูลที่ได้รับจาก OCR เข้าระบบ POS ของคลินิก (ถ้ายังไม่มี ระบบ POS ในปัจจุบันมีให้เลือกเยอะมาก เช่น Clinic Management Systems ต่างๆ) ส่วนใหญ่มีทีมงานคอยช่วยเหลือทั้งติดตั้งระบบและแนะนำการใช้งาน
    • POS ช่วยบันทึกข้อมูลได้ครบ เช่น ประวัติการรักษา การนัดหมาย และออกใบเสร็จในที่เดียว
หมออยากลองใช้ AI

ตัวอย่างการคำนวณให้เห็นภาพ

ยกตัวอย่างมีจำนวนคนไข้ทั้งหมด = 50,000 ราย

  • เวลาเฉลี่ยต่อคนไข้ = 15 วินาที
  • คน 1 คน ถ่ายรูปและอัปโหลดได้ 1,440 ราย/วัน (ทำงานจริง 6 ชั่วโมง/วัน x 240 ราย/ชั่วโมง)

กรณีใช้ 1 คนถ่ายรูป + อัปโหลด

  • วันละ 1,440 ราย
  • ทั้งหมดจะใช้เวลา = 50,000 ÷ 1,440 = 34.7 วัน (ประมาณ 35 วัน ทำงานทุกวันต่อเนื่อง)

กรณีใช้ทีม 3 คน

  • วันละ 1,440 × 3 = 4,320 ราย/วัน
  • ทั้งหมดจะใช้เวลา = 50,000 ÷ 4,320 = 11.6 วัน (ประมาณ 12 วัน)

กรณีใช้ทีม 5 คน

  • วันละ 1,440 × 5 = 7,200 ราย/วัน
  • ทั้งหมดจะใช้เวลา = 50,000 ÷ 7,200 = 6.9 วัน (ประมาณ 7 วัน)

การมีข้อมูลที่จัดเก็บดี จะช่วยให้คลินิกทำงานได้เร็วขึ้น ความยุ่งยากในเรื่องการค้นหาและบันทึกก็ลดลง เช่น หมอจะดูประวัติคนไข้ย้อนหลัง หรือส่งโปรโมชันให้ลูกค้าเก่า ข้อมูลมันต้องพร้อมใช้งาน แล้วพอเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น AI จะช่วยเข้ามาต่อยอดได้อีก เช่น ใช้คาดการณ์ว่าใครมีแนวโน้มกลับมาใช้บริการ หรือออกแบบการดูแลเฉพาะบุคคลแบบตอบโจทย์มากกว่าเดิม

ปัญหาเดียวของงานนี้คือ “ลายมือหมอใน OPD” แต่เชื่อเถอะครับ ไปลองดูก่อน แล้วคุณจะทึ่งกับสิ่งที่ AI ทำได้


เรื่องนี้ตอบยาวเลยนะครับ เพราะในยุคที่การแข่งขันในธุรกิจคลินิกความงามสูงขึ้น กลยุทธ์แจกบริการหรือสินค้าฟรี เช่น การวิเคราะห์ผิว เทสเตอร์ครีม หรือทรีทเมนท์ฟรี เริ่มได้ผลน้อยลง เพราะลูกค้าเริ่มไม่ตื่นเต้น ไม่เชื่อมั่น หรือบางคนรู้สึกว่าเป็นแค่มุกการตลาด โดยเฉพาะหากคลินิกนั้นให้ของฟรีแต่คุณภาพต่ำหรือไม่จริงใจกับลูกค้า แต่ถ้าคลินิกไหนกล้าให้ของดีฟรีจริงและมีความจริงใจในการบริการ สิ่งนี้จะสร้างความแตกต่างและคว้าใจลูกค้าได้อย่างยั่งยืน

อ่านต่อ

ตอนนี้เวลาออกแบบ Cover Facebook Page เราต้องคำนึงถึง ขอบภาพและ Safe Zone เป็นหลัก เพื่อให้เนื้อหาหลักแสดงผลได้ครบถ้วนบนทุกอุปกรณ์ อย่างบนเดสก์ท็อป ภาพจะถูกแสดงที่ขนาด 820 x 312 px ส่วนบนมือถือจะขยายเป็น 640 x 360 px ซึ่งพื้นที่ Safe Zone หรือ “พื้นที่ปลอดภัย” คือบริเวณตรงกลางภาพที่ขนาด 820 x 360 px เราควรเน้นวาง ข้อความสำคัญ หรือองค์ประกอบหลักให้อยู่ในโซนนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ขอบภาพถูกตัดเมื่อต่างอุปกรณ์แสดงผล และเพื่อคุณภาพสูงสุด ควรใช้ไฟล์ขนาดใหญ่กว่า เช่น 851 x 315 px ในการอัปโหลดครับ

อ่านต่อ

ตอบตามที่เห็นมาตลอด 12 ปี ของตลาดความงาม คือมันทั้งจริง และไม่จริงครับ

จริง เพราะ (ในอดีต) ยุคก่อนที่การแข่งขันยังไม่สูงเท่าปัจจุบัน และคู่แข่งอาจจะยังไม่ได้เน้นการตลาดมากนัก คลินิกที่มีสินค้าและบริการดีจริงๆ อาจจะอยู่ได้ด้วยคุณภาพและการบอกต่อของลูกค้าเป็นหลัก ทำให้ดูเหมือนว่าไม่ต้องพึ่งพาการโฆษณามากนัก ต่างคนต่างมีย่าน มีโซน แบ่งลูกค้าชัดเจน

ไม่จริง สำหรับยุคนี้ ตอนนี้ ที่มีคลินิกเปิดใหม่มากมาย การแข่งขันสูงมาก และทุกคนเข้าถึงเครื่องมือการตลาดได้ง่ายขึ้น การมีแค่สินค้าดี บริการดี อย่างเดียวไม่เพียงพอจริงๆ ครับ จำเป็นต้อง “บอก” ให้ลูกค้ารู้ “หา” ตลาดที่ใช่ และ “ทำ” การตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้ ซึ่งก็คือการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง ออนไลน์ ออฟไลน์ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเลือกอีกต่อไป มันคือไม่ทำไม่ได้เลยต่างหากครับ

อ่านต่อ

ให้คำแนะนำได้ครับ ทีมการตลาดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจคลินิกไม่ได้มีรูปแบบตายตัว ต้องพิจารณาจากขนาดขององค์กร จำนวนสาขา และเป้าหมายทางธุรกิจ เช่น การเพิ่มยอดขาย การสร้างแบรนด์ หรือการขยายฐานลูกค้า ตำแหน่งในทีมสามารถปรับได้ให้เหมาะสมกับงบประมาณและทรัพยากรที่มี หากเป็นคลินิกขนาดเล็กถึงปานกลาง ควรเลือกทีมที่มีความสามารถหลากหลายในแต่ละตำแหน่ง เพื่อลดจำนวนคน แต่ยังคงฟังก์ชันหลักของการตลาด

สำหรับคลินิกที่มี 1-3 สาขา ทีมที่แนะนำควรมี 4 ตำแหน่งหลัก ได้แก่ Marketing Strategist ที่วางแผนการตลาดและดูแลการยิงโฆษณา, Content Specialist ที่สร้างคอนเทนต์และผลิตงานวิดีโอ, Design Specialist ที่ดูแลงานกราฟิก และ Influencer & Partnership Manager ที่บริหารความร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์และพาร์ทเนอร์ ทีมขนาดนี้ช่วยให้ครอบคลุมทุกงานสำคัญ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว เหมาะสำหรับการเริ่มต้นสร้างแบรนด์และขยายฐานลูกค้าในระดับท้องถิ่นหรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต่อไป

อ่านต่อ

เมื่อจะเปิดคลินิกใหม่และต้องตัดสินใจเลือกสีแบรนด์ คุณมีสองแนวทางหลักในการพิจารณา แนวทางแรกคือการเลือกสีโดยอิงกับหลัก จิตวิทยาสี ซึ่งเป็นแนวคิดที่ศึกษาอิทธิพลของสีต่อความรู้สึกของมนุษย์และภาพลักษณ์ของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น สีฟ้าและสีเขียวมักใช้ในคลินิกเพราะสื่อถึงความน่าเชื่อถือ ความสงบ และสุขภาพ สีขาวให้ความรู้สึกสะอาดปลอดภัย ส่วนสีชมพูหรือสีม่วงจะเหมาะกับคลินิกความงามเพราะสื่อถึงความอ่อนโยนและมีระดับ การเลือกสีในมิติของจิตวิทยาสี จะช่วยสื่อสารภาพลักษณ์ของคลินิกอย่างตรงจุด และสร้างความเชื่อมั่นในใจลูกค้าได้ง่ายขึ้นตามกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ

อีกแนวทางหนึ่งคือการเลือกสีโดยใช้หลัก “มูเก็ตติ้ง” (Muketing) หรือการพึ่งพาความเชื่อ โหราศาสตร์ และดวงชะตา ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน หลายธุรกิจเลือกใช้สีตามวันเกิดของเจ้าของ ตามธาตุประจำตัวของดวง หรือดูฤกษ์และศาสตร์ฮวงจุ้ยในการจัดวางสีที่เหมาะสม เช่น สีแดงหรือทอง หากต้องการเสริมด้านโชคลาภ สีเขียวเพื่อเรียกพลังความอุดมสมบูรณ์ หรือสีที่เป็น “สีมงคล” ตามศาสตร์ความเชื่อเพื่อดึงดูดลูกค้า วิธีนี้ไม่เพียงแต่สร้างเอกลักษณ์ให้แบรนด์ แต่ยังให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าคลินิกจะเริ่มต้นด้วยพลังบวกตามความเชื่อส่วนตัว ดังนั้นการตัดสินใจระหว่าง ความเป็นระบบ (จิตวิทยา) หรือความเชื่อแบบ มูเตลู (มูเก็ตติ้ง) ก็ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณรู้สึกว่าเหมาะสมสำหรับแบรนด์และตัวคุณมากที่สุด

อ่านต่อ

ได้ครับ ถ้าอยากได้คลิปครั้งเดียวที่ใช้ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำได้ครับ ถ่ายให้เฟรมกว้างหน่อย และจัดองค์ประกอบให้หมออยู่ตรงกลางเฟรม จะได้ครอบวิดีโอออกมาได้ทั้งสองแบบโดยภาพยังดูโอเค หรืออีกวิธีคือใช้กล้องที่ถ่ายแบบความละเอียดสูง (4K ขึ้นไป) เผื่อเวลาตัดต่อจะได้คุณภาพภาพที่ยังชัดอยู่

แต่ถ้าคุณหมออยากได้งานสวยที่สุดจริง ๆ ผมแนะนำว่าถ่ายแยกอันหนึ่งแนวตั้ง อันหนึ่งแนวนอนจะดีกว่าครับ จะได้คลิปที่เหมาะกับแต่ละแพลตฟอร์มเป๊ะ ๆ ไม่ต้องกังวลว่าเฟรมมันจะดูแปลก ครับ เพราะบางครั้ง เมื่อมีการขยับ ตัวจะดูแน่นเฟรมเกินไป โดยเฉพาะคุณหมอที่มีความกังวลกับรูปร่างตัวเองเป็นพิเศษ

อ่านต่อ

Home»FAQ»หมออยากใช้ AI ในคลินิกแต่จะให้มันทำอะไรดี